Article > D.I.Y.
DIY เล็กๆน้อยๆระบบเบรก
MOJOJOJO:
สำหรับคนเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ตอนนี้ให้ดันลูกสูบเก่าเข้าไปนะครับ ไม่งั้นจะใส่ผ้าเบรกไม่ได้ เอา C Clamp
หรือไขควงดันก็ได้ แต่ไขควงต้องระวังหน่อยนะเดี๋ยวงัดอะไรเป็นรอย หน้าตาตอนล้างแล้วค่อยดูใหม่หน่อยตามรูป
ตอนดันก็ระวังน้ำมันเบรกล้นออกมาด้วย จะเปิดฝามาดูดออกก่อนก็ตามสบาย
เปิดฝากระปุกน้ำมันเบรกออกมาจะเห็นกรองพลาสติกอยู่นะครับ จับมันหมุนไปด้านซ้ายยกออก แล้วจัดการดูดได้เลย เวลาดูดก็บีบขวดก่อนแล้วก็จุ่มลงไป
ที่ดูดผมใช้ขวดน้ำ กับท่อสายยางปลา มาต่อหัวสายยางใหญ่กว่าอีกที ไม่งั้นเวลาเสียบไล่ลมที่เบรกจะใส่ไม่เข้า
แต่บอกก่อน ตอนผมทำไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันเบรกใหม่นะครับ เพราะตอนนั้นอยู่บ้านคนเดียวเลยไม่สามารถไล่ลมกับเหยียบเบรกพร้อมๆกันได้ :bbbear_14:
MOJOJOJO:
ต่อไปก็เอาผ้าเบรกใส่เข้าที่ ใส่สลักตัวบนก่อนนะครับ แล้วค่อยใส่แผ่นกดผ้าเบรก ใช้นิ้วกดมันลงมาแล้วค่อยใส่สลักตัวล่าง
เสร็จแล้วก็อย่าลืมลวดล็อคสลัก ใส่ตรงกลางเข้าไปก่อน แล้วเอาขาแต่ละข้างใส่รูปลายสลัก
เท่านี้ก็สำเร็จสำหรับเบรกหน้า ขันน็อตล้อใส่อย่าลืมขันตามลำดับ และกวดให้ได้ตามspec ตอนล้ออยู่บนพื้นแล้ว
MOJOJOJO:
มาถึงเบรกหลัง เหมือนกับล้อหน้าครับ เอาลวดล็อคออกก่อน
ตามด้วยสลักและแผ่นกด
เอาผ้าเบรกออก อันนี้มีทริกเล็กน้อย เพราะรู้สึกว่าผ้าเบรกจะพอดีกับคาลิเปอร์เหลือเกินทำให้เอาออกยาก
ให้ใช้ไขควงช่วยงัดพร้อมๆกัน ระวังคาลิเปอร์เป็นรอยนะครับ เพราะ2pots หลังจะเป็นอลูมิเนียม
MOJOJOJO:
อยากรู้เลยเอามาวัดซะหน่อย อย่างนี้บางเกินควรเปลี่ยนได้แล้ว
รูปเนื้อผ้าเบรกที่เปลี่ยนใหม่ครับ อันนี้เค้าบอกสูตรเดียวกับ Project Mu ญี่ปุ่นเลยลองดูว่าเป็นไงมั่ง
เวลาผ่านไปใวเหมือนโกหก555 ผ้าเบรกหลังก็เข้าไปอยู่ในที่ (ทำเหมือนเบรกหน้าเลยครับ )สังเกตุเช็นเชอร์ผ้าเบรกบางสีเงินๆ
จากนั้นใส่ล้อก็สำเร็จแล้ว :bbbear_46: ใช้เวลาไปไม่เยอะล้อละ15นาทีได้ครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สงสัยตรงไหนถามได้ครับ
:bbbear_4: :bbbear_4:Note :bbbear_4: :bbbear_4:
ผ้าเบรก 4pots กับของ skyline R32 เหมือนกันครับ
ผ้าเบรก Brembo Subaru ก็เหมือนกับของ Evo
น้ำยาล้างเบรก บางยี่ห้อมันกัดสีคาลิเปอร์ได้ด้วยควรระวัง เท่าที่เคยใช้มาเพื่อใครจะไปซื้อนะครับ
Gunk กระป๋องเหลืองแจ่มสุด หาซื้อยาก พ่นออกมาเป็นน้ำได้ถ้ากดเบาๆ=ไม่เปลือง ล้างคราบง่าย ระเหยช้า หัวตันได้อีก
CRC ป๋องแดง แรงดันสูงมาก ค่อนข้างอันตรายโดนผิวมีแสบสุดๆ :bbbear_6: ล้างออกเฉยๆ ระเหยช้า เวลาใช้ควรใส่ถุงมือ+แว่น
bendix ป๋องฟ้าขาว กัดสีคาลิเปอร์ :bbbear_39: โดนมาแล้วที่เห็นเป็นจุดขาวๆรูปบนหนะครับ พ่นทีออกเยอะ ล้างออกเฉยๆ ระเหยเร็ว
Prostaff ป๋องดำสูง ล้างออกเฉยๆ พ่นทีออกเยอะ ระเหยเร็ว ถูกดี
KURE ป๋องแดงสูง ล้างออกเฉยๆ พ่นทีออกเยอะ ระเหยเร็ว เหมือนยี่ห้อบนเลยแต่แพงกว่าเกือบเท่าตัว
สำหรับคนที่จะเปลี่ยนน้ำมันเบรกนะครับ
น้ำมันเบรกหลักๆมี2เบสครับ
DOT 3, 4 , 5.1 เหมาะกับรถที่ใช้งานบนถนนทั่วไป โดยตัวมันเองดูดความชื้นจากอากาศรอบด้านทำให้เสื่อมสภาพ (ลองเอาน้ำมาผสมได้มันจะหายไปเลย)
โดย DOT ยิ่งมากยิ่งทนความร้อนได้สูง ในรถสมัยใหม่สามารถใช้แทนกันได้ครับ เพราะเป็นเบสเดียวกัน Polyglycol base
ที่เค้าบอกว่าDOT x ONLY นั้นเพราะน้ำมันเบรกคนละ DOT คนละยี่ห้อ มาผสมกันอาจทำให้ได้น้ำมันเบรกที่ทนความร้อนได้แย่กว่าเดิมครับ
และยิ่งDOT มากใช่ว่าจะดีกว่าเสมอไป ผมเคยหารายงานทดสอบความชื้นในน้ำมันเบรกอ่าน ปรากฏว่าDOT สูงๆกลับดูดความชื้นได้ดีกว่า DOT น้อยกว่าเสียอีก
และประสิทธิภาพการทนความร้อนก็ลดลงเป็นเท่าตัว เมื่อมีความชื้นในระบบ ข้อควรระวังมันกัดสีรถ
มาถึงน้ำมันเบรกที่ควรระวังครับ DOT 5 ห้ามใช้ปนกับชนิดอื่น เพราะเป็น Silicone base ที่ไม่ดูดความชื้น ดังนั้นแทบจะไม่เสื่อมสภาพเลย ถามว่าแล้วไม่ดีเหรอแทบไม่เสื่อมสภาพ
ที่จริงเป็นอย่างนี้ครับ ข้อเสียของมันอยู่ตรงที่มันจะทำงานได้ดีเมื่อไม่มีการเจือปน น้ำมันเบรก silicone base นั้น เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายเข้าไปในรถที่เคยใช้น้ำมันเบรกทั่วไป ก็จะถูก
ผสม (เพราะจริงๆแล้วคงไม่มีใครถ่ายน้ำมันเบรกออกมาได้ 100% ยกเว้นรถใหม่) และทำให้เสื่อมสภาพทนความร้อนไม่ได้เท่าที่ควร น้ำมันเบนกประเภทนี้จะใช้ในรถโชว์ รถที่ใช้ในการ
ทหาร (US) อันนี้ไม่กัดสีรถครับ
ความรู้ทั่วไป
wet boiling point จุดเดือดน้ำมันเบรกเมื่อมีความชื้นเข้ามาปน 3% รถบ้านเปลี่ยนปีละหนดูอันนี้
dry boiling point จุดเดือดน้ำมันเบรกเมื่อไม่มีความชื้นเข้ามาปน รถสนามเปลี่ยนได้สนามละหนดูอันนี้
ห้ามผสมยี่ห้อ และ DOT
ใช้น้ำมันเบรกเปิดใหม่เท่านั้น
สีฟ้าหรือเหลือง มีผลเพื่อความสะดวกเวลาไล่ลม
DOT3 อาจทนความร้อนได้มากกกว่า DOT4 แต่ติดในเรื่องของความหนืดของน้ำมัน (viscosity)ไม่ถึงมาตรฐาน ทำให้ได้แค่ DOT3
KaMz`:
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับพี่ :bbbear_19: :bbbear_19: :bbbear_19:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version