Buy & Sell: Automotives > Buy & Sell: parts
รักษ์อะไหล่ยนต์ ย่านวรจักร จำหน่ายอะไหล่ Subaru อะไหล่แท้ทุกรุ่นมือหนึ่ง ราคาถูก
Ruxalaiyont Autoparts:
เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา ที่ admin ไปเจอมาตอนติดไฟแดงคือ เราควรเข้าเกียร์ D หรือ เกียร์ N ที่ช่วยถนอมเครื่องยนต์ของรถเราให้ใช้ยาวนานยิ่งขึ้น.... วันนี้ admin มาพร้อมคำตอบ
1.) ในกรณีของรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปล้วน
เริ่มแรกถามว่าควรเข้าเกียร์ D หรือ N นั้นอยากให้ดูตามสถานการณ์ของจราจรเป็นเกณฑ์ ถ้ารถติดเกิน 1 นาทีเป็นต้นไปควรอย่างยิ่งที่จะเข้าเกียร์ N
เพราะหากการเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกทิ้งไว้ ระบบส่งกำลังของเกียร์ (Torque Converters) ก็จะทำงานอยู่ในรอบเดินเบา แล้วเราเหยียบเบรกห้ามไว้ ส่วนเรื่องการสึกหรอนั้นไม่มีข้อมูลที่ยืนยัน แต่หากคิดตามหลักการแล้วอาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก ๆ แต่ที่มีปัญหาแน่นอนและเด่นชัดคือรถคุณจะกินน้ำมันเชื้อเพลงมากกว่าเดิม และไม่ได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาเลย
แต่ทั้งนี้หากรถติดเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้อง N เสมอไป เพราะคุณจะมาสับเกียร์ทุกครั้งที่เจอไฟแดง จะทำให้กลไกชุดลิ้งค์การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ รวมถึงพวกชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่บริเวณคันเกียร์ มีการใช้งานมากกว่าปกติ และทำให้แรงดันน้ำมันเกียร์เปลี่ยนแปลงบ่อย
2.) ในกรณีของรถยนต์ เครื่องยนต์ระบบไฮบริด
สำหรับกรณีรถไฮบริดนั้นมีความแตกต่างออกไป คือถ้าใส่เกียร์ N ไว้ กระบวนการชาร์จไฟจากมอเตอร์เข้าแบตเตอรี่จะไม่ทำงาน (เป็นข้อมูลเฉพาะรถยนต์ของโตโยต้า) เพราะฉะนั้นก็ควรใส่เกียร์ D ไว้เมื่อต้องการชาร์จไฟแบตเตอรี่ หรือถ้าอยากพักเท้าในการเหยียบเบรกจริง ๆ ให้โยกคันเกียร์ไปที่ P เลยจะดีกว่าเพราะระบบชาร์จไฟจะทำงาน
ทั้งนี้ช่วงการจอดรถติดไฟแดงให้ปลอดภัยเข้า เมื่อเข้าเกียร์ N ก็ควรใช้เบรกมือร่วมด้วย หรือหากคุณเข้าเกียร์ P แล้วโดนชนอาจจะทำให้รถเกียร์เสียทั้งชุด แต่ตามกฎหมายแล้วคุณสามารถฟ้องร้องคู่กรณีที่ชนท้ายให้จ่ายค่าเสียหายได้ทั้งหมด รวมถึงพ้นข้อหาประมาทหากรถไหลไปชนคันหน้าอีกต่อ เพราะสามารถยื่นหลักฐานให้แก่ศาลได้ว่าคุณไม่ได้ประมาทเข้าเกียร์จอดและห้ามรถเต็มที่จนเกียร์พัง
Cr. kapook.com
ติดตามบทความดีๆ และ click like เพื่อสนับสนุนเราได้ทาง www.facebook.com/ruxalaiyont
พบกับ Ruxalaiyont.com โฉมใหม่ได้ทาง www.ruxalaiyont.com
สนับสนุนบทความดีๆ โดย รักษ์อะไหล่ยนต์ (Ruxalaiyont Limited Partnership)
Ruxalaiyont Autoparts:
ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และฝนพร้อมที่จะตกได้ทุกเมื่อ วันนี้ admin เลยไปค้นคว้ามาว่า ถ้าฝนตกหนักๆ และเกิดนํ้าท่วม รถของเราจะลุยนํ้าท่วมได้แค่ไหน ถึงปลอดภัย.... admin ได้หาคำตอบมาแล้วค่ะ
- รถเก๋งเล็ก (รถเก๋งทั่วไป, รถอีโค่คาร์, รถ MPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 14.5 เซนติเมตร ท่อไอเสียมีความสูงประมาณ 18 ซม. สามารถลุยน้ำท่วมได้ตั้งแต่ 10-30 เซนติเมตร หากวัดแบบคร่าว ๆ จะสายตาคือ ตาตุ่มถึงกลางหน้าแข้ง
- รถกระบะกระบะเตี้ย, กระบะขนของ ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 18 เซนติเมตร ท่อไอเสียมีความสูงประมาณ 21 ซม. สามารถลุยน้ำท่วมได้ตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร หากวัดแบบคร่าว ๆ จะสายตาคือ ตาตุ่มถึงหัวเข่า
- รถกระบะยกสูง ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร
ท่อไอเสียมีความสูงประมาณ 25 ซม. สามารถลุยน้ำท่วมได้ตั้งแต่ 10-50 เซนติเมตร หากวัดแบบคร่าว ๆ จะสายตาคือ ตาตุ่มถึงต้นขา
- รถอเนกประสงค์ (Mini SUV, SUV, PPV) ระดับต่ำสุดจากพื้นเฉลี่ย 22 เซนติเมตร ซึ่งส่วนใหญ่ก็ออกมาเคลมกันเลยว่าลุยน้ำท่วมได้ 50 เซนติเมตร เพราะว่าสูงก็ไล่เลี่ยระดับกระบะยกสูง
จากข้อมูลสรุปแล้วรถยนต์ทั่วไปไม่ควรจะลุยน้ำระดับความสูงเกิน 50 เซนติเมตเพราะจะมีความสูงถึงห้องเครื่องยนต์ แถมคลื่นของน้ำที่จะกระทบ ที่สำคัญเราไม่สามารถมองเห็นหลุม-บ่อที่อยู่ใต้น้ำได้เลย หากมีเหตุต้องฝ่าน้ำท่วมจริง ๆ ควรเหยียบคันเร่งหน่วงไว้แล้วไปช้า ๆ เพื่อให้ท่อไอเสียได้ดันน้ำออกไปไม่ปิดท่อ
Cr. kapook.com
ติดตามบทความดีๆ และ click like เพื่อสนับสนุนเราได้ทาง www.facebook.com/ruxalaiyont
พบกับ Ruxalaiyont.com โฉมใหม่ได้ทาง www.ruxalaiyont.com
สนับสนุนบทความดีๆ โดย รักษ์อะไหล่ยนต์ (Ruxalaiyont Limited Partnership)
Ruxalaiyont Autoparts:
วันนี้ admin มีเรื่องมาแชร์ให้เพื่อนๆ ที่จะขับขี่ขึ้นเขา-ลงเขา ขับอย่างไรให้ปลอดภัย
เริ่มจากการใช้เกียร์ต่ำ ปรับเปลี่ยนเกียร์ เมื่อรถเสียกำลัง อย่าลากเกียร์จนหมดแรงส่ง ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ การขับให้ใช้เกียร์ช่วยตลอดทางเกียร์อัตโนมัติไม่พังง่ายๆ
ขณะที่ เมื่อขับลงเขาที่ลาดชันมากและยาวไกล ก่อนเข้าโค้งให้เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง D มา 2 ถ้า 2 ยังเอาไม่อยู่ให้เปลี่ยนมา L แต่อย่าเปลี่ยนเกียร์ขณะฝนตกทางลื่นรถจะเสียการทรงตัว การใช้เกียร์แต่ละเกียร์ควรดูสภาพทางเป็นหลักในการพิจารณา
ส่วนเกียร์ธรรมดาการทำงานจะง่ายกว่า มีเกียร์ให้เล่น 5 ตำแหน่ง และมีคลัทช์ช่วยในการส่งกำลังไปยังล้อตามที่เราต้องการได้ทุกขณะ แต่เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นจะทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการ เพราะฉะนั้นควรประเมินสภาพทางก่อนใช้เกียร์ดีที่สุด
ส่วนการขับเข้าโค้งธรรมดาหรือบนภูเขา ควรมองให้ไกลให้ลึกและให้คนนั่งข้างช่วยดูสภาพทางด้วย เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมาให้ใช้วิธีตัดโค้งวิธีนี้จะช่วยให้รถทรงตัวดี, เข้าโค้งได้เร็ว, รถไม่ใช้กำลังมาก ลูกปืนล้อไม่ทำงานหนัก, ยางก็ไม่ล้มตัวมาก หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากตามไปด้วย แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมา สมมติจะเข้าโค้งขวาก่อนเข้าโค้งให้ถอนคันเร่งลง หักพวงมาลัยไปทางซ้ายนิดหนึ่ง แล้วหักพวงมาลัยมาทางขวาเพื่อทำโค้งให้กว้างขึ้น ใช้พื้นที่ถนนทุกตารางนิ้ว ถ้ารถจะเลี้ยวซ้ายก็ให้เลี้ยวทางขวานิดหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้าย การฝึกใหม่จะรู้สึกฝืนความรู้สึกบ้าง ถ้าขับชำนาญแล้วก็จะชินไปเอง
ข้อควรระวัง
1.ขณะขับรถขึ้นทางชันหรือขึ้นเขาควรเร่งความเร็วให้สม่ำเสมอเพิ่มกำลังเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวลแต่อย่าเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง เพราะนอกจากความเร็วจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
2. อย่าใช้เกียร์ว่างในขณะลงเนินชัน หรือลงเขาโดยเด็ดขาด!! เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรใช้เกียร์ต่ำ และค่อยๆปล่อยรถให้ไหลลงเนินตามรอบเครื่องยนต์ และอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ ด้วย
3. ควรใช้เกียร์ต่ำ คือเกียร์ 1 หรือ เกียร์ 2 (เกียร์อัตโนมัติคือ L)ในขณะขับรถขึ้นเขา เพราะถ้าใช้เกียร์ที่สูง อย่างเช่นเกียร์ 3, 4 หรือ 5 จะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังและแรงฉุดมากพอที่จะเคลื่อนที่ขึ้นเนินเขา นอกจากนี้ยังเป็นการผลาญน้ำมันโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
Cr. sanook.com
ติดตามบทความดีๆ และ click like เพื่อสนับสนุนเราได้ทาง www.facebook.com/ruxalaiyont
พบกับ Ruxalaiyont.com โฉมใหม่ได้ทาง www.ruxalaiyont.com
สั่งอะไหล่โทร: 02-221-7756, 02-223-9944, 02-225-2758, 02-685-4522 Fax: 02-225-2759
สนับสนุนบทความดีๆ โดย รักษ์อะไหล่ยนต์ (Ruxalaiyont Limited Partnership)
Ruxalaiyont Autoparts:
หลายๆคนเจออุบัติเหตบนท้องถนน อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า "ควรเคลม หรือ ไม่เคลมประกันดี" "แบบไหนคุ้มกว่ากัน" วันนี้ admin มีคำตอบมาให้ :)
อุบัติเหตุ เกิดขึ้นโดยที่คุณไม่เคยคาดคิด... ถ้าโชคร้ายรถเสียหายมากถึงขนาดที่ซ่อมยังไงก็ไม่คุ้มก็ต้องทำใจขายรถทิ้งไป แต่ถ้าโชคดีหน่อยรถเสียหายไม่มากพอจะซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้คุณก็มีทางเลือกที่จะเอารถไปซ่อม 2 นั่นคือ เคลมประกันหรือซ่อมเอง
แต่เคลมแบบไหนคุ้มกว่ากัน? ต้องลองทำ 4 Checklist ต่อไปนี้
Check 1: ใครเป็นฝ่ายผิด
หลังเกิดอุบัติเหตุให้พิจารณาเบื้องต้นว่าใครเป็นฝ่ายผิดและมีคู่กรณีหรือไม่ เพราะถ้าคุณเป็นฝ่ายถูกและมีคู่กรณีจะสามารถเคลมประกันได้ทันทีโดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าฝ่ายไหนผิดควรรอเจ้าหน้าที่ให้มาช่วยตัดสิน เพราะคุณเป็นฝ่ายผิดจริงๆ อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณต้องพิจารณาใน Checklist ข้อต่อไป...
Check 2: ประเมินค่าใช้จ่าย
ส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณตัดสินใจว่าจะเคลมหรือไม่เคลมคือการประเมินค่าใช้จ่ายว่าสุดท้ายแล้ว คุณจ่ายเองคุ้มกว่าเคลมประกันหรือไม่ โดยอาจประเมินจากค่าอะไหล่ที่เสียหายอย่างคร่าวๆ
Check 3: ค่าเสียหายส่วนแรก (Deduct ) เท่าไร
ค่าเสียหายส่วนแรก (Deduct) เป็นค่าใช้จ่ายที่คุณตกลงจะรับผิดชอบเองตั้งแต่ 1,000 - 5,000 บาทกรณีเกิดความเสียหายเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ (สามารถดูได้ที่กรมธรรม์) แต่จะจ่ายเงินเองก็ต่อเมื่อคุณเป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีคู่กรณีเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณประเมินค่าความเสียหายแล้วเกินค่าเสียหายส่วนแรกที่คุณระบุไว้ ก็ควรจะเคลมประกันดีกว่า เพราะถ้าซ่อมเองคงไม่คุ้มแน่ๆ
Check 4: ปีหน้าคุณได้ส่วนลดประวัติดีหรือไม่
ส่วนลด 20% ถ้าไม่มีการเคลมในปีที่ 1
ส่วนลด 30% ถ้าไม่มีการเคลมในปีที่ 2
ส่วนลด 40% ถ้าไม่มีการเคลมในปีที่ 3
ส่วนลด 50% ถ้าไม่มีการเคลมในปีที่ 4
สำหรับใครที่คำนวณบวกลบแล้วว่าไม่ขาดทุนและยืนยันจะเอาส่วนลดประวัติดีก็เตรียมควักเงินจ่ายค่าซ่อมรถเองไปก่อนได้เลย แล้วค่อยรอไปถอนทุนคืนตอนทำประกันในปีหน้า แต่ใครที่อยากจะเปลี่ยนบริษัทประกันภัยใหม่และต้องการซ่อมรถแบบที่ไม่ต้องควักเงินจ่ายเองก็แจ้งประกันส่งรถเคลมได้เลยค่ะ
เฉลยคำตอบ: ถ้า 1 ในคำตอบของคุณคือ ไม่คุ้ม เราขอแนะนำให้คุณนำรถเข้าเคลมบริษัทประกันแทนการจ่ายเงินซ่อมเองน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Cr. sanook.com
ติดตามบทความดีๆ และ click like เพื่อสนับสนุนเราได้ทาง www.facebook.com/ruxalaiyont
พบกับ Ruxalaiyont.com โฉมใหม่ได้ทาง www.ruxalaiyont.com
สั่งอะไหล่โทร: 02-221-7756, 02-223-9944, 02-225-2758, 02-685-4522 Fax: 02-225-2759
สนับสนุนบทความดีๆ โดย รักษ์อะไหล่ยนต์ (Ruxalaiyont Limited Partnership)
Chaiyaporn:
อะไหล่ XV มีบ้างยังครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version