ผู้เขียน หัวข้อ: ขออนุญาตประชาสัมพันธ์: หยุดการกักตัวเด็ก!  (อ่าน 1646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ POP_EMS

  • *
  • กระทู้: 1,895
  • Popular Vote : 13
  • www.facebook.com/liquimolymotorsportthailand
    • liquimolymotorsportthailand
    • อีเมล์
หยุดการกักตัวเด็ก !

ประเทศไทย เปิดตัวการรณรงค์ระดับสากลเพื่อยุติการกักตัวเด็กในสถานกักตัวค นต่างด้าว

(กรุงเทพ, ประเทศไทย ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕) ในวันนี้เด็กกว่าหลายหมื่นคนยังถูกกักในสถานกักตัวคน

ต่างด้าว พวกเขาจำนวนมากต้องอยู่โดยลำพังไม่มีผู้ปกครอง ต้องไร้อิสรภาพ ด้วยสาเหตุเพียงเพราะไม่มี

เอกสารที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น เด็กส่วนใหญ่ถูกกักตัวหลังจากหนีจากการถูกทำร้าย ปัญหาความยากจนและ

ภัยสงคราม การกักตัวเด็ก ซึ่งเป็นวิธีที่รัฐบาลต่างๆ นำมาปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายนี้ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนา

การด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจของเด็กอย่างรุนแรง จึงสมควรยุติการกระทำดังกล่าว

ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาองค์การของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธ ิเด็ก ค.ศ. ๑๙๘๙ ซึ่งกำหนดให้การกัก

ตัวเด็กนั้นเป็น “ มาตรการสุดท้ายเท่านั้น และให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุดอย่างเหมาะสม ” อย่างไรก็ตาม ประเทศ

ไทยยังคงกักตัวผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย และ ผู้อพยพซึ่งเป็นเด็ก ในสถานกักตัวคนต่างด้าว ด้วยสาเหตุเรื่องการจัดการ

คนเข้าเมือง เด็กเล็ก ผู้เยาว์ซึ่งไม่มีผู้ปกครอง ต้องเผชิญความยากลำบากถูกกักตัวร่วมกับผู้ต้องกักหญิง และผู้ป่วย

ในห้องกักที่แออัด และไม่ถูกสุขอนามัย จากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อสิ้นปีพ.ศ. ๒๕๕๔ มีเด็กถูก

กันตัวประมาณ ๙๐ คน

ในเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ มีเหตุการณ์สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของประเทศไทยในการ

แก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติผู้ลี้ภัยจำนวน ๙๔ คน และ ผู้ขอลี้ภัย ๒ คน ได้รับการประกันและปล่อยตัวจากสถานกักตัวคนต่างด้าว

โดยในจำนวนผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้นเป็นเด็กประมาณ ๓๐ คน นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมยังได้ดำเนินการ

ต่อจากโครงการนำร่องดังกล่าว ในการช่วยเหลือประกันตัวผู้ต้องกักเพิ่มเติม เป็น เด็ก ๒๑ คน และผู้ใหญ่๕๐

คน และในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการประกันและปล่อยตัวเด็กไร้สัญชาติ๒ คน พร้อมครอบครัว

จากสถานกักตัวคนต่างด้าว คุณวีรวิชญ์เธียรชัยนันท์ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารมูลนิธ ิไทยเพื่อคนมี

ปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล (ทีซีอาร์) ซึ่งนับเป็นองค์กรไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ทำงานในประเด็น

เรื่องผู้ลี้ภัย ได้กล่าวว่า “ เหตุการณ์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการนำของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติภายใต้โครงการใหม่เพื่อต่อต้านการกักตัวเด็ก ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังได้ตั้งคณะ

ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการกักตัวเด็ก ซึ่งได้เชิญภาคประชาสังคมไทยเข้ามาร่วมงาน นับเป็นนิมิตหมายอันดี

เราควรผลักดันให้ประเทศไทยเพิ่มพันธกรณีมากขึ้น เช่น ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

สถานภาพผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐ การบัญญัติกฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัยของประเทศไทย”

คุณเมธาพันธ์ สุนทรเดช ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย โครงการอไซลัมแอคเซสประเทศไทย ภายใต้

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา กล่าวว่า “ การประกันตัวเด็กเป็นเพียงแนวทางแก้ปัญหาในระยะสั้น

เราต้องมุ่งดำเนินการเพื่อไม่ให้มีการถูกจับกุมและกักตัวเด็กด้ วยข้อหาว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมือง ”

ในวันนี้ International Detention Coalition (ไอดีซี) ได้เปิดตัว การรณรงค์ระดับสากลเพื่อยุติการจองจำเด็ก

ในสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองในการประชุมครั้งที่๑๙ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ณ

กรุงเจนีวา โดยไอดีซีเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งการรณรงค์ดังกล่าว และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวระดับโลกนี้

หน่วยงานด้านสิทธิผู้ลี้ภัยในประเทศไทย มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล และ อไซลัมแอค

เซส ประเทศไทย ได้ร่วมกันเป็นศูนย์กลางระหว่างกลุ่มประชาสังคมต่างๆ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อ

ผู้อพยพเด็กให้สมกับที่บุคคลเหล่านั้นเป็นเด็ก และหยุดการกักกันพวกเขา อิสรภาพของเด็กจะต้องได้รับการ

รักษาในฐานะสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

_________________________________________________

ในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ กลุ่มสิทธิมนุษยชนและกลุ่มสิทธิผู้ลี้ภัยจากทั่วโลกได้รวมตัวกั น เพื่อเริ่มสำรวจประเด็นนี้

และสร้างแรงผลักดันในการรณรงค์ต่อต้านการกักกันเด็ก รวมทั้งประสานงานกับรัฐบาลต่างๆ เพื่อหาทาง

เลือกอื่นนอกเหนือจากการจองจำเด็กในสถานกักกันตรวจคนเข้าเมือง ปัจจุบันนี้บุคคลทั่วไป สามารถลงชื่อ

ร่วมยื่นคำร้องในระดับสากลเพื่อเรียกร้องให้หยุดการกักกันเด็กใ นสถานกักตัวคนต่างด้าวได้ โดยคำร้อง

ดังกล่าวจะถูกเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนภายในระยะเวลา ๑ ปี นอกจากนี้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

สามารถบันทึกข้อความ ทางวีดีโอเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว และลงข้อความนั้นบนสถานีYouTube

“Speak up Behind Bars”

เด็กอายุ๖ ปีจากประเทศไทยกล่าวในข้อความบน YouTube ว่า

“ เด็กไม่ควรถูกกันกันเพียงเพราะว่าเขามาจากประเทศอื่นโดยไม่มีเอ กสาร เขาควรได้รับอิสระ มีครอบครัว

การศึกษาและ ได้รับบริการทางสุขภาพ” (ท่านสามารถเข้าชมได้ที่

http://www.youtube.com/watch?v=2bbE8Uh_6hM) เด็กสามารถฝากส่งข้อความได้ที่

www.endchilddetention.org/speakup) หากได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

คุณวีรวิชญ์เธียรชัยนันท์

ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร

มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล ๑๔๙/๒๑๒ ชั้น ๒๕ อาคาร โมเดิร์นโฮม

ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐

ประเทศไทย

โทรศัพท์: +๖๖(๐)๘ ๗๐๙๖ ๐๓๓๐

อีเมล์: vtianchainan@thaiforrefugees.org