Gallery > Car Member Gallery

แมวผอม GH8 WRX going 2.7L. - Project ขยายไส้เพิ่มความจุ

(1/16) > >>

Robin:
สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่ารถคันนี้เป็นรถของคุณหมอชัยวัฒน์ หนึ่งในสมาชิกของ SSS คับ แต่ผมจะทำหน้าที่ เป็นคนที่มา update และให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของรถคันนี้ (เนื่องจากทางคุณหมอไม่ค่อยมีเวลา และไม่ทราบในรายละเอียดของเครื่องยนต์เชิงลึกคับ) เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์ของพี่ๆเพื่อนๆในเว็บ เพื่อว่าใครอยากจะทำการ modify เครื่องยนต์ในลักษณะแบบนี้ในอนาคตคับ

รถคันนี้ออกห้างจาก MIT มาเป็นเครื่องยนต์ 2.5L. เทอร์โบ คอไอดีพลาสติกสีดำ ว่าง่ายๆว่าเครื่องยนต์พื้นฐานเหมือนเครื่องคอแดงที่อยู่ในบอดี้ก่อนหน้านี้ (พวก GDB) ทั้งท่อนล่างและชุดฝา แต่มาลงอยู่ในบอดี้ของหน้าแมว แต่ถ้าเป็นหน้าแมว STi จะแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการทำชิ้นส่วนของท่อนล่าง คอไอดี และชุดฝาจะเป็นแบบ Dual AVCS

Project นี้เริ่มขึ้นโดยการที่คุณหมออยากจะขยายความจุของเครื่องยนต์ ขยายขนาดของเทอร์โบ เพื่อเพิ่มแรงม้าและแรงบิดให้กับเครื่องยนต์  และในขณะเดียวกันก็เพิ่มความแข็งแรงให้กับเครื่องยนต์ให้มีมากขึ้นไปในตัวด้วย โดยมี concept ที่ว่าไม่ได้ต้องการเครื่องที่แรงมากๆ แรงม้าเยอะๆ (เพราะไม่ได้จะเอาไปแข่งกับใคร อิอิ) แต่ต้องการเครื่องยนต์ที่มี response ที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ให้กำลังได้ต่อเนื่อง มีขุมกำลังที่เพียงพอต่อการใช้งานบนถนนในจังหวะเร่งแซง กดบ้าง ยกบ้าง มีกดเล่นเมื่อถนนมันโล่งๆบ้าง และสามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน โดยตั้งเป้าหมายแรงม้าไว้ที่ราวๆ 400 แรงม้าที่ล้อเป็นขั้นต่ำ โดยมองถึงความทนทางของเครื่องยนต์เป็นหลักสำคัญ และระบบทุกส่วนของรถยนต์ต้องสัมพันธ์กันทั้งหมดคับ

มาดูกันเลยดีกว่าคับว่าแมวตัวนี้ได้ทำอารายกับเครื่องยนต์และระบบอื่นๆไปบ้าง

เริ่มกันจากท่อนล่างก่อนคับ

1. ชุดลูกสูบ CP Pistons ขนาด STD.  Custom-made เพื่อรองรับช่วงชักที่ยาวขึ้น
2. ก้านสูบ Brian Crower Billet 4340 Chromoly Steel พร้อมน๊อตก้าน ARP
3. ข้อเหวี่ยง Brian Crower - Billet 4340 Chromoly Steel ขยายช่วงชัก เพิ่มความจุ 2,700cc.
4. เสื้อสูบ – Clearance หลบช่วงชักข้อเหวี่ยงที่ยาวมากขึ้น
5. ปลอกสูบสไตล์ Darton Sleeves เป็นแบบ Wet Sleeves รองรับบูสต์ที่มากขึ้นและป้องกันปัญหาเสื้อแตก
6. ชาร์ฟ ACL Race Series – 3 ชุด (3 ขนาด) – ใช้ชาร์ฟ 3 ขนาดเนื่องจากต้องการให้ clearance ของทั้งชาร์ฟเมน และชาร์ฟก้านเป็นไปตาม spec ของโรงงานในทุกๆข้อ โดยคละชาร์ฟทั้ง 3 ขนาดลงไปในแต่ล่ะข้อเพื่อให้ clearance ถูกต้องและแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องเอาข้อเหวี่ยงไปปรับเมนเพื่อให้ได้ clearance คับ
7. น๊อตเมน ARP L19 – ในประเทศไทยสำหรับเครื่อง EJ แล้วไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญกับการใช้น๊อตเมน แต่สำหรับการทำเครื่องที่ลงทุนกับอะไหล่ภายในค่อนข้างมาก การที่มีน๊อตดีๆไว้ก่อน ย่อมอุ่นใจและมั่นใจได้ว่าโอกาสที่ปัญหาจะเกิด จะน้อยลงคับ
8. ปั้มน้ำมันเครื่อง Cosworth – เพื่อเพิ่ม Pressure ของน้ำมันเครื่องมารองรับกับ step การโมดิฟายที่เพิ่มมากขึ้น

Robin:
มาดูรูปปลอกและเสื้อสูบที่ทำขึ้นมาพร้อมปั้มน้ำมันเครื่อง Cosworth

Robin:
ตามมาด้วยชุดฝาคับ

1. น๊อตฝา ARP L19 – ป้องกันปัญหาปะเก็นแล๊บ และเพิ่มความแข็งแรงในการยึดฝาสูบกับเสื้อสูบเข้าด้วยกัน
2. ปะเก็นฝา Cosworth  
3. คอไอดี Intake Manifold จาก Cosworth – Better Flow rate ของอากาศ
4. ชุดแคมชาร์ฟ AVCS จาก Cosworth
5. ชุดวาล์ว (oversized +1mm.) สปริงวาล์ว (Dual) และรีเทนเนอร์ (Titanium) จาก Cosworth
ชุดฝาทั้งหมดใช้เป็นของ Cosworth เนื่องจากต้องการให้ทุกชิ้นส่วนของฝาสูบเข้ากันได้หมดตาม spec ที่ต้องการ ปัญหาของชุดฝาหลายๆครั้งเกิดจากการใช้วาล์วยี่ห้อนึง แคมยี่ห้อนึง สปริงวาล์วกับรีเทนเนอร์อีกยี่ห้อนึง ทำให้เกิดปัญหาพวกสปริงกัดแคมสึก วาล์วขาด และอื่นๆตามมา เนื่องจากระยะ clearance ของชิ้นส่วนบนฝาไม่เข้ากัน
6. Spocket cams ของ STD. – ใช้ของ STD. เนื่องจากเครื่องตัวนี้เป็นระบบ AVCS จึงจะใช้ระบบของ HKS Valcon Pro มาปรับ overlapped จาก Spocket cams เดิม แทนการตั้งแคมด้วย Spocket cams ซิ่ง
7. ขัดพอร์ต แยงฝา ทำบ่าวาล์ว เพื่อรองรับกับอากาศที่จะเพิ่มมากขึ้น – ใส่ใจในการขัดเรียบแม้กระทั้งในช่วงระยะของวาล์วและบ่าวาล์ว
8. สายพานไทม์มิ่ง Cosworth
9. ตัวล็อคสายพานไทม์มิ่ง Cosworth – กันสายพานกระโดด

Robin:
มาดูรูปฝาที่ทำขึ้นมากันดีกว่าคับ งานเนียนแค่ไหนลองมาดูกันคับ

Robin:
ระบบอัดอากาศ

1. Turbo HKS GT3037 Ball Bearing - Wrap with DEi Turbo Insulation Kit – เหตุผลที่ใช้เป็นแกนลูกปืน เพื่อต้องการให้บูสต์มาเร็วในรอบต่ำ และต้องการให้บูสต์มาแบบต่อเนื่อง ขับง่าย ควบคุมรถง่าย ไม่ดึงหนักเหมือนเทอร์โบแกนบูช และเนื่องจากรถคันนี้ไม่ได้บูสต์สูง จึงไม่ต้องกลัวพัง เลยทำให้เทอร์โบแบบ Ball Bearing น่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดคับ
2. HKS Oil Orifice – ใช้ Oil Orifice ของ HKS เพื่อป้องกันปัญหาของน้ำมันเครื่องที่จะถูกปั้มขึ้นมาเลี้ยงแกนเทอร์โบมากเกินไป
3. Wastegate Tial 44mm. – เลือกใช้เวสเกตของแท้จาก Tial เพื่อควบคุมอัตราการบูสต์ให้นิ่งตามที่ลูกค้าต้องการทั้งช่วง Low Boost และ High Boost และในอนาคตถ้าต้องการที่จะขยับขยายบูสต์เพิ่มขึ้น ก็แค่สั่งสปริงที่แข็งขึ้นมาเปลี่ยน ก็สามารถใช้งานเวสเกตลูกนี้ต่อไปได้
4. Blow-Off Valve - HKS SQV
5. Electronic Boost Controller – HKS EVC-5 เลือกใช้ตัวปรับบูสต์ไฟฟ้าที่มีกลไกเป็นแบบ Stepping motor เพื่อแก้ปัญหาที่ชอบเกิดขึ้นของ Solenoid valve ของตัวปรับบูสต์ยี่ห้ออื่นๆในท้องตลาด
6. Header และ ท่อไอเสียจากพี่ต๋อง พระราม 2 – Wrap with DEi Titanium Exhaust Wrap
7. HKS Intercooler Kit Type-R for Subaru GRB – ใช้เป็นระบบของอินเตอร์หน้าเพื่อรองรับกับ step การ modify ที่เพิ่มมากขึ้น
8. กรองเปลือย K&N – เพื่อประสิทธิภาพในการกรองอากาศที่สูงสุด ไม่เลือกใช้กรองแบบผ้าที่เป็นดอกเห็ด เพราะดอกเห็ดมีโอกาสหลุดเข้าไปที่หน้าใบเทอร์โบ อาจจะก่อนให้เกิดความเสียหายแก่เทอร์โบได้

ระบบส่งกำลัง

1. เกียร์ 5 speed ใส่กับ ACT Clutch Kit 1 แผ่น – Clutch ของ ACT ถึงแม้จะเป็นแค่แผ่นเดียว แต่เลือก spec ที่สามารถรองรับกับแรงม้าและแรงบิดที่เครื่องตัวนี้จะสร้างได้อย่างสบายๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version